วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562

ผลงานวิจัยของหมออายุรกรรมบ้านนอก


Effect of Hemoglobin E disorders on Hemoglobin A1c in Diabetic patients, different in EA and EE.
  • Passorn Sueyunyongsiri*
  • *Departments of Internal Medicine, Surin Hospital, Surin, Thailand

Abstract
Background: A decreased life-span of erythrocytes is associated with lower concentration of hemoglobin A1c. This research aims to study effect of hemoglobin E disorder on hemoglobin A1c  ( HbA1c ) level of diabetic patients in Surin hospital.
Methods: A retrospective study was conducted from 2006 to 2009.Patient’s profile, blood glucose  and HbA1c levelwere collected and divided in hemoglobin E heterozygous, homozygous group and control group. Each sample arm was classified into eight subgroups according to blood glucose level to compare HbA1c level in each subgroup.
Results: During 2006-2009, 55 diabetic patients with hemoglobin E disorder were found from overall 43 negative DCIP diabetic patients. There is no difference of sex, average age, duration of disease and blood glucose between hemoglobin E disorders and control group. Patients with hemoglobin E homozygous group had lower  HbA1c  level than those of  control group (P<0.05). But no different in hemoglobin E heterozygous group(P>0.05)
Conclusion: Since HbA1c levels is presently the best indicator of long term glycemic control. With similar fasting glucose, hemoglobin E disorder is associated with lower HbA1c level.
Key words: Diabetes mellitus, Hemoglobinopathy, Hemoglobin A1c ( HbA1c )
Full paper: Medical Journal of Srisaket Surin Buriram Hospitals; Vol.23 No.2 May-August 2008;637-643.
บทคัดย่อ   ปัจจัยทางด้านฮีโมโกลบินผิดปกติชนิด อี ที่มีผลต่อการวัดระดับน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยเบาหวาน
ภัสสร สื่อยรรยงศิริ*
*กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย
บทนำ จุดมุ่งหมายของการศึกษาเพื่อทำการศึกษาผลของฮีโมโกลบินผิดปกติชนิด อี ต่อการแปลผลระดับน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลสุรินทร์
วิธีการศึกษา ผู้วิจัยศึกษาโดยการเก็บรวบรวมผลการตรวจเลือด จากผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งได้รับการตรวจเลือดตั้งแต่ ปี พ..2549-2550 เปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยที่มีฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดอีกับผู้ป่วยเบาหวานอื่นๆ แยกเป็น 7 กลุ่มตามระดับน้ำตาลในเลือด; ควบคุมน้ำตาลได้ดี 3 กลุ่ม (ระดับน้ำตาลน้อยกว่า 99 , 100-109, 110-126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ; ควบคุมน้ำตาลได้ปานกลาง 1 กลุ่ม (ระดับน้ำตาล 127-139 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ) ;หรือควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี 3 กลุ่ม (ระดับน้ำตาล 140-199, 200-239 , >240 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) โดยเปรียบเทียบกับระดับน้ำตาลสะสมในแต่ละกลุ่ม
ผลการศึกษา ในช่วงระหว่าง ปี พ.. 2549-2550 ผู้ป่วยเบาหวาน 910 ราย อายุ 11-93 ปี มีผู้ป่วยเบาหวานที่มีฮีโมโกลบินผิดปกติ ชนิด อี 28 ราย เจาะเลือด 44 ครั้ง เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม 882 ราย เจาะเลือด 958 ครั้ง ทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันในค่าเฉลี่ยของอายุ เพศและระดับน้ำตาลในเลือด แต่ระดับน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยที่มีฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดอีต่ำกว่าผู้ป่วยเบาหวานทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P < 0.001)
สรุป ปัจจุบันระดับน้ำตาลสะสมสามารถบ่งบอกประสิทธิภาพการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การแปลผลระดับน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยเบาหวานทั่วไปและผู้ป่วยที่มีฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดอี ที่ระดับน้ำตาลเท่ากัน ผู้ป่วยที่มีฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดอีจะมีระดับน้ำตาลสะสมน้อยกว่า

คำสำคัญ โรคเบาหวาน, ฮีโมโกลบินผิดปกติ, ฮีโมโกลบินสะสม (HbA1c )
เอกสารฉบับเต็ม: วารสารการแพทย์โรงพยาบาล ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ปีที่ 23 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2551; หน้า  637-643

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น