วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2562

ผลงานเล็กๆของพยาบาลและหมอต่างจังหวัด

➽➽➽จากการตรวจสุขภาพของพระภิกษุพบว่าพระภิกษุในเขตเทศบาลมีความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุงมากกว่าพระที่จำพรรษานอกเขตเทศบาล

ความเสี่ยงของภาวะอ้วนลงพุงในกลุ่มประชากรพระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาในเขตเมือง
The risk of central obesity in the population of monks in urban area

แสงอรุณ สื่อยรรยงศิริ*, พย.บ.
ภัสสร สื่อยรรยงศิริ**, พ.บ.
  *กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสุรินทร์
**กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์
บทคัดย่อ
ภาวะอ้วนลงพุง พบอุบัติการณ์สูงขึ้นทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย แต่ยังไม่มีการศึกษาในกลุ่มประชากรพระภิกษุสงฆ์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความชุกของภาวะอ้วนลงพุงในกลุ่มประชากรพระภิกษุสงฆ์ โดยมีกลุ่มเปรียบเทียบ แบ่งกลุ่มประชากรเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มประชากรพระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาในวัดในเขตเทศบาลเมือง เปรียบเทียบกับพระที่จำพรรษาที่วัดนอกเขตเทศบาลเมือง โดยมีสมมุติฐานว่าพระทั้งสองเขตนั้นมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะอ้วนลงพุงที่แตกต่างกัน  ประชากรพระทั้งหมดในเขตอำเภอเมือง 841 ราย เพศชายทั้งหมด จำนวนพระในเขตเทศบาล 170 ราย คิดเป็น 20.21 % อายุไขเฉลี่ย 35 ปี จำนวนพระนอกเขตเทศบาล 671 รายคิดเป็น 79.79% อายุไขเฉลี่ย 48 ปี การหาค่าความเสี่ยงสามารถคำนวนความเสี่ยงของการเกิดภาวะอ้วนลงพุงได้ว่าพระที่จำพรรษาในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดสุรินทร์ จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการมีภาวะอ้วนลงพุงมากกว่าพระที่จำพรรษาในวัดนอกเขตเทศบาลเมืองจังหวัดสุรินทร์ เป็น 1.68 เท่า และ 2.57 เท่าในกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 35 ปี โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงลดประชากรกลุ่มเสี่ยงได้ 23% จากการติดตามพระภิกษุสงฆ์ที่มีภาวะอ้วนลงพุงภายหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พบว่าความชุกของภาวะอ้วนลงพุงลดลงจาก 20.21 % ลดเหลือ 8.0 % กลุ่มประชากรจึงมีการขาดการติดตามหรือติดตามไม่ได้ คิดเป็น 20% ของประชากรกลุ่มเสี่ยง ในกลุ่มประชากรที่ติดตามได้ไม่พบการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคหลอดเลือด ในระยะ 2 ปีที่เฝ้าระวัง เปรียบเทียบสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ในเขตเทศบาลเมืองมีภาวะอ้วนลงพุงมากกว่ากลุ่มควบคุม โดยเฉพาะพระที่มีอายุมากกว่า 35 ปี มีความเสี่ยงสูงกว่าชัดเจน
คำสำคัญ: อ้วนลงพุง, ความชุก, พระภิกษุสงฆ์

Abstract
Central obesity found a higher incidence around the word including Thailand but  there wasn't an education in the population of monks. The objective of this study was to study the prevalence of central obesity in the population of monks by having a comparison group. Divided the population into two groups, the first group was the population of monks who lived in the temple in the municipality compared with the population of monks who lived in the temple outside the municipality. The hypothesis was the two groups had the difference of the risks of central obesity. The population of all the monks in urban area were 841, they were all men. The number of monks in the municipality was 170, accounted for 20.21%, the average age was 35 years old. The number of monks outside the municipality was 671, accounted for 79.79%, the average age was 48 years old.  Can calculate the risk of central obesity that the monks in Surin municipaliry  had a risk of central obesity more than the monks outside Surin municipaliry  was 1.68 times and 2.57 times in age group more than 35 years. And there was a statistically significant at 95% confidence level. Changing behavior in the risk group reduced the population at risk 23% from following the monks who had central obesity after modified behavior.  The prevalence of central obesity decreased from 20.21% reduced to 8.0. In the population of the track, new case diabetes, hypertension or vascular disease did not occur in 2 years surveillance. Compared the health of the monks in the municipality have central obesity more than the control group especially the monks who are over 35 years old will have a higher risk clearly.
Keywords: central obesity, prevalence, monks
➤➤➤อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่ วารสารโรคเขตเมือง

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม พ.ศ. 2560

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น