ชื่อเรื่อง"ระดับไขมันแอลดีแอล
คอเลสเตอรอลไม่มีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบซ้ำ"
ชุติมา คูศิริวิเชียร, พ.บ.,ว.ว.อายุรศาสตร์
โรงพยาบาลจักราช จังหวัดนครราชสีมา
ภัสสร สื่อยรรยงศิริ, พ.บ., ว.ว.อายุรศาสตร์
กลุ่มงานอายุรกรรม
โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
______________________________________________________________________
บทคัดย่อ
โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่สำคัญและพบบ่อย
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองอยู่แล้วมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำได้มากกว่าคนปกติ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงและความชุกของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบซ้ำในโรงพยาบาลจักราช
จังหวัดนครราชสีมา การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย
โดยศึกษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบและโรคหลอดเลือดสมองตีบซ้ำที่มารับบริการในโรงพยาบาลจักราช
จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 วิเคราะห์ผลการศึกษาโดยใช้ค่าความถี่
ค่าเฉลี่ย ร้อยละวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องภายในกลุ่มของประชากรโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก
และวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติไคสแคว์ ผลการศึกษาพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบจำนวน
213 คน เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบซ้ำจำนวน 41 คน (ร้อยละ 19.2) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบที่ไม่เป็นซ้ำพบเป็นกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มอายุอื่น
(Odd ratio 1.87, P<0.05) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบซ้ำพบเป็นกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มอายุอื่น
พบมีโรคประจำตัวความดันโลหิตสูงมากกว่า
และพบการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีมากกว่า (Odd ratio 2.15, 1.93 และ 4.5 ตามลำดับ : P<0.05) ระยะเวลาการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบซ้ำพบได้บ่อยในช่วง
31 วันถึง 1 ปี (ร้อยละ 46.3) การมีโรคประจำตัวความดันโลหิตสูง การมีภาวะอ้วน
และการขาดยาต้านเกล็ดเลือดแอสไพริน
เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบซ้ำ (Odd ratio 2.55, 2.58 และ 8.44 ตามลำดับ : P <0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าการควบคุมระดับไขมันแอลดีแอล
คอเลสเตอรอลในเลือดได้ไม่ดีไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบซ้ำ
Low Density Lipoprotein
Cholesterol level is not associated with Recurrent Ischemic Stroke.
Chutima Koosiriwichian, M.D., Thai
Board of Internal Medicine
Chakkarat hospital, Nakhon
Ratchasima, Thailand
Passorn Sueyanyongsiri, M.D., Thai
Board of Internal Medicine
Medicine department, Surin
hospital, Surin, Thailand
_________________________________________________________________________
Abstract
Stroke is the important and common disease. Patient
who has prior stroke trends to have recurrent stroke than others. The objectives of this study are to
study risk factors and prevalence of recurrent ischemic stroke in Chakkarat
hospital, Nakhon Ratchasima province. This study was
retrospective study, collecteddata by using medical records. Ischemic
stroke patients who attended in Chakkarat hospital, Nakhon Ratchasima province
since October 2012 to September 2016 were enrolled in the study. The
data analysis used frequency, mean and percentage. In each groups compared by
logistic regression analysis and between groups compared by Chi-square test.
The result found that there were 213 ischemic stroke patients. 41
patientswere recurrent ischemic stroke (19.2%).
In no recurrent ischemic stroke group, elder was found more often than other
age groups (OR 1.87, P<0.05). In recurrent ischemic stroke group, elder,
hypertension and poor controlled blood sugar were found more often than others
(OR 2.15, 1.93 and 4.5, respectively, P<0.05). The duration of recurrent
ischemic stroke was found most in 31 days to 1 year after prior stroke (46.3%).
Hypertension, obesity and discontinuation of antiplatelet treatment were risk
factors of recurrent ischemic stroke (OR 2.55, 2.58 and 8.44, respectively,
P<0.05) In addition, uncontrolled low-density
lipoprotein cholesterol (LDL-C) level was not associated with recurrent ischemic stroke.
ติดตามอ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่ร้อยเอ็ดเวชสาร ปีที่4 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2561 หน้า1-8
วารสารคนรุ่นใหม่ไฟแรง บรรณาธิการใจดี มีลิ้งค์ให้อ่านออนไลน์ได้ไม่ต้องพิมพ์ให้เปลืองกระดาษ ลดโลกร้อน
ร้อยเอ็ดเวชสาร ปีที่4 ฉบับที่ 2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น