วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Artificial Intelligence): คุณหมออายุรกรรมออนไลน์คำนวณระดับน้ำตาลสะสม(HbA1c)จากเลือดเพียงปลายนิ้ว


ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Artificial Intelligence):
คุณหมออายุรกรรมออนไลน์คำนวณระดับน้ำตาลสะสม(HbA1c)จากเลือดเพียงปลายนิ้ว
       ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Artificial Intelligence) คือโปรแกรมซอฟแวร์ต่าง ๆ ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเองได้ หรือมีปัญญานั่นเอง ปัญญานี้มนุษย์เป็นผู้สร้างให้คอมพิวเตอร์ จึงเรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์ AI นั้นถูกเอามาใช้ในงานแทนมนุษย์หลายอย่าง เพื่อลดการใช้แรงงานคน และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ป่วย การกระทำคล้ายมนุษย์ การคิดคล้ายมนุษย์ การเรียนรู้ คิดอย่างมีเหตุผล
     ปัจจุบันระดับน้ำตาลสะสมสามารถบ่งบอกประสิทธิภาพการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การแปลผลระดับน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยเบาหวานทั่วไปและผู้ป่วยที่มีฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดอี ที่ระดับน้ำตาลเท่ากัน ผู้ป่วยที่มีฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดอีจะมีระดับน้ำตาลสะสมน้อยกว่าและมีงานวิจัยระบุว่าการที่ผู้ป่วยเบาหวานทราบผลระดับHbA1c ทันทีทำให้การควบคุมน้ำตาลดีขึ้น
    การวิจัยนี้เป็นการศึกษาปัญหาเฉพาะอย่างทางการแพทย์จุดประสงค์ของระบบนี้คือทำให้เสมือนมีมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและคำตอบเกี่ยวกับปัญหาการแปลผลการควบคุมระดับน้ำตาล
    วิธีการศึกษาใช้การคำนวณจากเลือดจากปลายนิ้ว ทั้งหมด 4 สูตร เปรียบเทียบกับค่าที่วัดได้จริง เป็นการศึกษาแบบครั้งเดียว เก็บข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานที่ติดตามการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเมือง ปี 2557-2559 จำนวนที่เจาะเลือด 10,267 ครั้ง โดยใช้สถิติ Pair t-test และ Multi-level regression analysis
     เพื่อทดสอบสูตรที่ใช้ในการคำนวณระดับ HbA1c สูตรต่างๆ เปรียบเทียบกับค่าที่วัดได้จริง เพื่อหาสูตรที่ดีที่สุด
     ผู้ป่วยเบาหวานที่ติดตามการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเมือง ปี 2557-2559 จำนวนที่เจาะเลือด 10,267 ครั้ง ผลการศึกษาพบว่า ค่าระดับน้ำตาลสะสมที่ได้จากการคำนวณไม่แตกต่างจากค่าที่วัดได้จริง ค่าเฉลี่ย 7.038 และ 7.046 (P=0.717) การเปลี่ยนแปลงของน้ำตาลสะสมจากการคำนวณ 1 หน่วย ทำให้ค่าที่วัดได้จริงเปลี่ยนแปลง 1.028 หน่วย แบบไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


    ในปัจจุบันมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยเบาหวานนั้น ต้องติดตามการการควบคุมระดับน้ำตาลด้วยระดับ HbA1c แต่ด้วยสถานะทางการเงินของหลายๆโรงพยาบาล และจำนวนผู้ป่วยที่มีปริมาณมาก ทำให้เป็นข้อจำกัดในการตรวจเลือดชนิดนี้ ผู้ป่วยต้องรอผลเลือดนานขึ้น ค่าใช้จ่ายมากขึ้น นอกจากนี้มีการศึกษาที่ระบุว่าการแจ้งผล HbA1c ทันที ทำให้ผู้ป่วยคุมน้ำตาลได้ดีขึ้น คงจะดีไม่น้อยหากมีสูตรที่ใช้ในการคำนวณได้ จากการทบทวนบทความในอดีตนั้นมีการคิดคำนวณกลับจาก HbA1c เป็นระดับน้ำตาลและมีการศึกษาความสัมพันธ์ของระดับ HbA1c ดับระดับน้ำตาลในเวลาต่างๆ ยังไม่มีการศึกษาความสัมพันธ์กับความเข้มข้นของเลือด หรือชนิดของเม็ดเลือดที่ผิดปกติ แต่เนื่องจากจังหวัดสุรินทร์มีผู้ป่วยเม็ดเลือดผิดปกติจำนวนมาก และผู้ป่วยเหล่านี้จะมีความเข้มข้นของเลือดผิดปกติด้วย ทำให้เราสามารถศึกษาความสัมพันธ์เหล่านี้ได้ แต่คงมิได้มาแทนมาตรฐานการรักษาแต่ประการใด มุ่งหวังว่าคงเป็นประโยชน์ในการคัดกรองเบื้องต้นในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล คลินิกเล็กๆ โรงพยาบาลชุมชนที่มีปัญหาทางการเงินบ้างไม่มากก็น้อย
สรุป ได้ว่าในหน่วยบริการขนาดเล็ก น่าจะใช้ค่าน้ำตาลสะสมจากการคำนวณในขั้นต้น เพื่อให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลตนเองได้





วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

The prognostic significance of mortality in smear positive elderly pulmonary tuberculosis: studies in Surin hospital, Thailand.


ผลงานของลูกศิษย์และอาจารย์ช่วยๆกันทำ ไม่ได้สอนให้ท่อง ไม่สอนให้จำ แต่กำลังสอนให้เกิดแรงบันดาลใจเล็กๆ ในวันหนึ่งข้างหน้าลูกศิษย์ก็คงเก่งกว่าอาจารย์

PM-ETB: The prognostic significance of mortality in smear positive elderly pulmonary tuberculosis: studies in Surin hospital, Thailand.
N.sumpansirikul*, I.Pongchanvit*, K.Samranvetchaporn*, M.Tharathikun*, P.Sueyanyongsiri**,J.Ruethaiwat**,
Surin hospital, Affiliated Institutes of Suranaree University of Technology, Thailand
Abstract
Background: Age-related factors not only increase the risk of TB reactivation but also enhance susceptibility to TB infection, abetting outbreaks, high co-morbidity and high mortality. This study aim to evaluated prognostic factors, that effect mortality in elderly smear positive pulmonary tuberculosis.                     
Methods: A five years retrospective cohort study of smear positive pulmonary tuberculosis patients from January 2013 to December 2018. This study was conducted at Surin hospital, a secondary-care referral center in Thailand. The inclusion criteria were age 15 years, smear positive. The identified patients were divided into two groups. Patients:age 15-69 years and age higher than 69 year. All of the general data and medical records for the enrolled patients were reviewed. Patients who had diabetes, acquired immunodeficiency syndrome (HIV disease), chronic kidney disease, cirrhosis or age more than 70 years were defined as immune-compromised host. Relative risk was used. Significance testing by chi-square, Fisher’s exact test and time-to-event curves were generated by the Kaplan-Meier method and compared using the log-rank test. Cox proportional hazards regression analysis was performed to identify prognostic factors for 40-day survival after admission.
Results: In 5844 patients of tuberculosis from 2013 to 2018 have 675 patients identified that smear positive pulmonary tuberculosis, 401 were in control group and 134 were in the elderly group, 140 patients die and 535 patients survived. In the elderly age group, female was higher than male.The elderly group had statistically significant difference higher in acute respiratory failure and chronic kidney disease, but lower in HIV disease. The mortality rate increased continuously with age, risk difference 6.5% per 20 years. In elderly group are increase mortality rate, relative risk 1.55 times.There had statistically significant difference between two groups in mortality by univariable cox’s regression analysis (hazards ratio=1.56; 95%confidence interval=1.10-2.20; P=0.012) and by multivariable Cox’s regression analysis (hazards ratio=1.76; 95%confidence interval=1.23-2.54; P=0.002) were associated with 40 days survival. The medial survival was 17 and 35 days in elderly and control group, significant in log rank test (P<0.010).
Conclusion:In the elderly age group, female was higher than male.Mortality in the elderly was remarkably higher than in younger, and increased continuously with age.     
Key words: Tuberculosis, critical care, acute respiratory failure, mortality, pulmonary tuberculosis, Surin hospital

Biography
*Medical students in Surin hospital, Affiliated Institutes of Suranaree University of Technology, Thailand.            

**Medical teachers in Surin hospital, Affiliated Institutes of Suranaree University of Technology, Thailand.         

Presenting author details
Full name: Natcha sumpansirikul
Contact number: +66935351659
Linked In account:
Session name/ number: Tuberculosis: Latent TB and Active TB Disease
Category: Poster presentation

ติดตาม ฉบับเต็มได้ที่ https://tuberculosis.conferenceseries.com/2019/eposter-presentation.php




วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562

เมื่อหมอบ้านนอกอยากโกอินเตอร์

➤➤➤ต้องรีบโพสต์ก่อนจะถูกลบ ไม่แน่ใจว่าเขาจะแขวนไว้นานแค่ไหน เป็นงานวิจัยในจังหวัดสุรินทร์ที่มีผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะเม็ดเลือดผิดปกติมากกว่าทุกๆที่ในโลก เป็นฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดอี ซึ่งพบมากในคนสุรินทร์ มีผลต่อการแปลผลน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วย จะมีค่าต่ำกว่าคนที่มีเม็ดเลือดปกติ คนต่างชาติสนใจ แค่เขารับผลงานก็ดีใจแล้ว กดอ่านโปสเตอร์ฉบับเต็มได้ตามลิงค์ข้างล่างนี้

https://diabetes.endocrineconferences.com/eposter/ahbet-artifactually-low-hemoglobin-a1c-in-diabetic-patients-with-hemoglobin-e-homozygote-surin-hospital-thailand-endocrinology-2019

➤➤➤ปัจจุบันระดับน้ำตาลสะสมสามารถบ่งบอกประสิทธิภาพการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การแปลผลระดับน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยเบาหวานทั่วไปและผู้ป่วยที่มีฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดอี ที่ระดับน้ำตาลเท่ากัน ผู้ป่วยที่มีฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดอีจะมีระดับน้ำตาลสะสมน้อยกว่า
                                                                                                           
Title: AHBET: Artifactually low hemoglobin A1C in diabetic patients with hemoglobin E homozygote: Surin Hospital, Thailand.
Name: P. Sueyanyongsiri, P. Tangbundit, S. Sueyanyongsiri, S. Bunmee, P. Khansri
Surin hospital, Affiliated Institutes of Suranaree University of Technology, Thailand

A decreased life-span of erythrocytes is associated with lower concentration of hemoglobin A1C (HbA1c). This research aims to study effect of hemoglobin E homozygote on HbA1c level of diabetic patients in Surin Hospital. A cross-sectional study was conducted from 2009 to 20016. Patient’s profile, fasting plasma glucose and  HbA1c level were collected and divided in hemoglobin E homozygous group and control group. Each sample arm was classified into eight strata according to blood glucose level to compare HbA1c level in each subgroup. During 2009-20016, 81 diabetic patients with hemoglobin E homozygote were found from overall 353 negative dichlorophenol-indolephenol (DCIP) diabetic patients. There is no difference of sex, average age, duration of disease and fasting plasma glucose between hemoglobin E homozygote and control group. Patients with hemoglobin E homozygous group had lower HbA1c level than those of control group (P<0.05). Conclusion: Since HbA1c levels is presently the best indicator of long term glycemic control. With similar fasting plasma glucose, hemoglobin E homozygote is associated with lower HbA1c level.

Biography

Passorn Sueyanyongsiri has completed her MD at the age of 25 years from Chulalongkorn University and postdoctoral studies from Mahidol University School of Medicine. She is the medical teacher in Surin hospital, Affiliated Institutes of Suranaree University of Technology, Thailand.       

Presenting author details
Full name: Passorn Sueyanyongsiri
Contact number:357839
Twitter account:@drpassorn
Linked In account:

Session name/ number: Diabetes: Diagnosis and treatment
Category: Poster presentation

ผลงานหมอบ้านนอกอีกคน

ผลงานหมอบ้านนอกอีกคนอยู่ต่างอำเภอ ไม่มีทุนวิจัย เก็บข้อมูลเอง ทบทวนบทความเอง เขียนเอง ไม่มีนักสถิติช่วย ลำบากแท้ ผู้ช่วยก็ไม่เก่งมาก แต่อยากช่วย ล้มแล้วลุก สนุกสนานกันแท้

ชื่อเรื่อง"ระดับไขมันแอลดีแอล คอเลสเตอรอลไม่มีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบซ้ำ"
ชุติมา คูศิริวิเชียร, พ.บ.,ว.ว.อายุรศาสตร์
โรงพยาบาลจักราช จังหวัดนครราชสีมา
ภัสสร สื่อยรรยงศิริ, พ.บ., ว.ว.อายุรศาสตร์
กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
______________________________________________________________________
บทคัดย่อ
โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่สำคัญและพบบ่อย ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองอยู่แล้วมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำได้มากกว่าคนปกติ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงและความชุกของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบซ้ำในโรงพยาบาลจักราช จังหวัดนครราชสีมา การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย โดยศึกษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบและโรคหลอดเลือดสมองตีบซ้ำที่มารับบริการในโรงพยาบาลจักราช จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 วิเคราะห์ผลการศึกษาโดยใช้ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องภายในกลุ่มของประชากรโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก และวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติไคสแคว์ ผลการศึกษาพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบจำนวน 213 คน เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบซ้ำจำนวน 41 คน (ร้อยละ 19.2) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบที่ไม่เป็นซ้ำพบเป็นกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มอายุอื่น (Odd ratio 1.87, P<0.05) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบซ้ำพบเป็นกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มอายุอื่น พบมีโรคประจำตัวความดันโลหิตสูงมากกว่า และพบการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีมากกว่า (Odd ratio 2.15, 1.93 และ 4.5 ตามลำดับ : P<0.05) ระยะเวลาการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบซ้ำพบได้บ่อยในช่วง 31 วันถึง 1 ปี (ร้อยละ 46.3) การมีโรคประจำตัวความดันโลหิตสูง การมีภาวะอ้วน และการขาดยาต้านเกล็ดเลือดแอสไพริน เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบซ้ำ (Odd ratio 2.55, 2.58 และ 8.44 ตามลำดับ : P <0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าการควบคุมระดับไขมันแอลดีแอล คอเลสเตอรอลในเลือดได้ไม่ดีไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบซ้ำ
Low Density Lipoprotein Cholesterol level is not associated with Recurrent Ischemic Stroke.

Chutima Koosiriwichian, M.D., Thai Board of Internal Medicine
Chakkarat hospital, Nakhon Ratchasima, Thailand
Passorn Sueyanyongsiri, M.D., Thai Board of Internal Medicine
Medicine department, Surin hospital, Surin, Thailand
_________________________________________________________________________
Abstract
Stroke is the important and common disease. Patient who has prior stroke trends to have recurrent stroke than othersThe objectives of this study are to study risk factors and prevalence of recurrent ischemic stroke in Chakkarat hospital, Nakhon Ratchasima province. This study was retrospective study, collecteddata by using medical records. Ischemic stroke patients who attended in Chakkarat hospital, Nakhon Ratchasima province since October 2012 to September 2016 were enrolled in the study. The data analysis used frequency, mean and percentage. In each groups compared by logistic regression analysis and between groups compared by Chi-square test. The result found that there were 213 ischemic stroke patients. 41 patientswere recurrent ischemic stroke (19.2%). In no recurrent ischemic stroke group, elder was found more often than other age groups (OR 1.87, P<0.05). In recurrent ischemic stroke group, elder, hypertension and poor controlled blood sugar were found more often than others (OR 2.15, 1.93 and 4.5, respectively, P<0.05). The duration of recurrent ischemic stroke was found most in 31 days to 1 year after prior stroke (46.3%). Hypertension, obesity and discontinuation of antiplatelet treatment were risk factors of recurrent ischemic stroke (OR 2.55, 2.58 and 8.44, respectively, P<0.05) In addition, uncontrolled low-density lipoprotein cholesterol (LDL-C) level was not associated with recurrent ischemic stroke.
ติดตามอ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่ร้อยเอ็ดเวชสาร ปีที่4 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2561 หน้า1-8 
วารสารคนรุ่นใหม่ไฟแรง บรรณาธิการใจดี มีลิ้งค์ให้อ่านออนไลน์ได้ไม่ต้องพิมพ์ให้เปลืองกระดาษ ลดโลกร้อน
ร้อยเอ็ดเวชสาร ปีที่4 ฉบับที่ 2

วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2562

ผลงานเล็กๆของพยาบาลและหมอต่างจังหวัด

➽➽➽จากการตรวจสุขภาพของพระภิกษุพบว่าพระภิกษุในเขตเทศบาลมีความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุงมากกว่าพระที่จำพรรษานอกเขตเทศบาล

ความเสี่ยงของภาวะอ้วนลงพุงในกลุ่มประชากรพระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาในเขตเมือง
The risk of central obesity in the population of monks in urban area

แสงอรุณ สื่อยรรยงศิริ*, พย.บ.
ภัสสร สื่อยรรยงศิริ**, พ.บ.
  *กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสุรินทร์
**กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์
บทคัดย่อ
ภาวะอ้วนลงพุง พบอุบัติการณ์สูงขึ้นทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย แต่ยังไม่มีการศึกษาในกลุ่มประชากรพระภิกษุสงฆ์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความชุกของภาวะอ้วนลงพุงในกลุ่มประชากรพระภิกษุสงฆ์ โดยมีกลุ่มเปรียบเทียบ แบ่งกลุ่มประชากรเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มประชากรพระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาในวัดในเขตเทศบาลเมือง เปรียบเทียบกับพระที่จำพรรษาที่วัดนอกเขตเทศบาลเมือง โดยมีสมมุติฐานว่าพระทั้งสองเขตนั้นมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะอ้วนลงพุงที่แตกต่างกัน  ประชากรพระทั้งหมดในเขตอำเภอเมือง 841 ราย เพศชายทั้งหมด จำนวนพระในเขตเทศบาล 170 ราย คิดเป็น 20.21 % อายุไขเฉลี่ย 35 ปี จำนวนพระนอกเขตเทศบาล 671 รายคิดเป็น 79.79% อายุไขเฉลี่ย 48 ปี การหาค่าความเสี่ยงสามารถคำนวนความเสี่ยงของการเกิดภาวะอ้วนลงพุงได้ว่าพระที่จำพรรษาในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดสุรินทร์ จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการมีภาวะอ้วนลงพุงมากกว่าพระที่จำพรรษาในวัดนอกเขตเทศบาลเมืองจังหวัดสุรินทร์ เป็น 1.68 เท่า และ 2.57 เท่าในกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 35 ปี โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงลดประชากรกลุ่มเสี่ยงได้ 23% จากการติดตามพระภิกษุสงฆ์ที่มีภาวะอ้วนลงพุงภายหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พบว่าความชุกของภาวะอ้วนลงพุงลดลงจาก 20.21 % ลดเหลือ 8.0 % กลุ่มประชากรจึงมีการขาดการติดตามหรือติดตามไม่ได้ คิดเป็น 20% ของประชากรกลุ่มเสี่ยง ในกลุ่มประชากรที่ติดตามได้ไม่พบการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคหลอดเลือด ในระยะ 2 ปีที่เฝ้าระวัง เปรียบเทียบสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ในเขตเทศบาลเมืองมีภาวะอ้วนลงพุงมากกว่ากลุ่มควบคุม โดยเฉพาะพระที่มีอายุมากกว่า 35 ปี มีความเสี่ยงสูงกว่าชัดเจน
คำสำคัญ: อ้วนลงพุง, ความชุก, พระภิกษุสงฆ์

Abstract
Central obesity found a higher incidence around the word including Thailand but  there wasn't an education in the population of monks. The objective of this study was to study the prevalence of central obesity in the population of monks by having a comparison group. Divided the population into two groups, the first group was the population of monks who lived in the temple in the municipality compared with the population of monks who lived in the temple outside the municipality. The hypothesis was the two groups had the difference of the risks of central obesity. The population of all the monks in urban area were 841, they were all men. The number of monks in the municipality was 170, accounted for 20.21%, the average age was 35 years old. The number of monks outside the municipality was 671, accounted for 79.79%, the average age was 48 years old.  Can calculate the risk of central obesity that the monks in Surin municipaliry  had a risk of central obesity more than the monks outside Surin municipaliry  was 1.68 times and 2.57 times in age group more than 35 years. And there was a statistically significant at 95% confidence level. Changing behavior in the risk group reduced the population at risk 23% from following the monks who had central obesity after modified behavior.  The prevalence of central obesity decreased from 20.21% reduced to 8.0. In the population of the track, new case diabetes, hypertension or vascular disease did not occur in 2 years surveillance. Compared the health of the monks in the municipality have central obesity more than the control group especially the monks who are over 35 years old will have a higher risk clearly.
Keywords: central obesity, prevalence, monks
➤➤➤อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่ วารสารโรคเขตเมือง

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม พ.ศ. 2560

วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562

ผลงานวิจัยของหมออายุรกรรมบ้านนอก


Effect of Hemoglobin E disorders on Hemoglobin A1c in Diabetic patients, different in EA and EE.
  • Passorn Sueyunyongsiri*
  • *Departments of Internal Medicine, Surin Hospital, Surin, Thailand

Abstract
Background: A decreased life-span of erythrocytes is associated with lower concentration of hemoglobin A1c. This research aims to study effect of hemoglobin E disorder on hemoglobin A1c  ( HbA1c ) level of diabetic patients in Surin hospital.
Methods: A retrospective study was conducted from 2006 to 2009.Patient’s profile, blood glucose  and HbA1c levelwere collected and divided in hemoglobin E heterozygous, homozygous group and control group. Each sample arm was classified into eight subgroups according to blood glucose level to compare HbA1c level in each subgroup.
Results: During 2006-2009, 55 diabetic patients with hemoglobin E disorder were found from overall 43 negative DCIP diabetic patients. There is no difference of sex, average age, duration of disease and blood glucose between hemoglobin E disorders and control group. Patients with hemoglobin E homozygous group had lower  HbA1c  level than those of  control group (P<0.05). But no different in hemoglobin E heterozygous group(P>0.05)
Conclusion: Since HbA1c levels is presently the best indicator of long term glycemic control. With similar fasting glucose, hemoglobin E disorder is associated with lower HbA1c level.
Key words: Diabetes mellitus, Hemoglobinopathy, Hemoglobin A1c ( HbA1c )
Full paper: Medical Journal of Srisaket Surin Buriram Hospitals; Vol.23 No.2 May-August 2008;637-643.
บทคัดย่อ   ปัจจัยทางด้านฮีโมโกลบินผิดปกติชนิด อี ที่มีผลต่อการวัดระดับน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยเบาหวาน
ภัสสร สื่อยรรยงศิริ*
*กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย
บทนำ จุดมุ่งหมายของการศึกษาเพื่อทำการศึกษาผลของฮีโมโกลบินผิดปกติชนิด อี ต่อการแปลผลระดับน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลสุรินทร์
วิธีการศึกษา ผู้วิจัยศึกษาโดยการเก็บรวบรวมผลการตรวจเลือด จากผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งได้รับการตรวจเลือดตั้งแต่ ปี พ..2549-2550 เปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยที่มีฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดอีกับผู้ป่วยเบาหวานอื่นๆ แยกเป็น 7 กลุ่มตามระดับน้ำตาลในเลือด; ควบคุมน้ำตาลได้ดี 3 กลุ่ม (ระดับน้ำตาลน้อยกว่า 99 , 100-109, 110-126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ; ควบคุมน้ำตาลได้ปานกลาง 1 กลุ่ม (ระดับน้ำตาล 127-139 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ) ;หรือควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี 3 กลุ่ม (ระดับน้ำตาล 140-199, 200-239 , >240 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) โดยเปรียบเทียบกับระดับน้ำตาลสะสมในแต่ละกลุ่ม
ผลการศึกษา ในช่วงระหว่าง ปี พ.. 2549-2550 ผู้ป่วยเบาหวาน 910 ราย อายุ 11-93 ปี มีผู้ป่วยเบาหวานที่มีฮีโมโกลบินผิดปกติ ชนิด อี 28 ราย เจาะเลือด 44 ครั้ง เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม 882 ราย เจาะเลือด 958 ครั้ง ทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันในค่าเฉลี่ยของอายุ เพศและระดับน้ำตาลในเลือด แต่ระดับน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยที่มีฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดอีต่ำกว่าผู้ป่วยเบาหวานทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P < 0.001)
สรุป ปัจจุบันระดับน้ำตาลสะสมสามารถบ่งบอกประสิทธิภาพการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การแปลผลระดับน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยเบาหวานทั่วไปและผู้ป่วยที่มีฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดอี ที่ระดับน้ำตาลเท่ากัน ผู้ป่วยที่มีฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดอีจะมีระดับน้ำตาลสะสมน้อยกว่า

คำสำคัญ โรคเบาหวาน, ฮีโมโกลบินผิดปกติ, ฮีโมโกลบินสะสม (HbA1c )
เอกสารฉบับเต็ม: วารสารการแพทย์โรงพยาบาล ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ปีที่ 23 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2551; หน้า  637-643