วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Artificial Intelligence): คุณหมออายุรกรรมออนไลน์คำนวณระดับน้ำตาลสะสม(HbA1c)จากเลือดเพียงปลายนิ้ว


ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Artificial Intelligence):
คุณหมออายุรกรรมออนไลน์คำนวณระดับน้ำตาลสะสม(HbA1c)จากเลือดเพียงปลายนิ้ว
       ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Artificial Intelligence) คือโปรแกรมซอฟแวร์ต่าง ๆ ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเองได้ หรือมีปัญญานั่นเอง ปัญญานี้มนุษย์เป็นผู้สร้างให้คอมพิวเตอร์ จึงเรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์ AI นั้นถูกเอามาใช้ในงานแทนมนุษย์หลายอย่าง เพื่อลดการใช้แรงงานคน และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ป่วย การกระทำคล้ายมนุษย์ การคิดคล้ายมนุษย์ การเรียนรู้ คิดอย่างมีเหตุผล
     ปัจจุบันระดับน้ำตาลสะสมสามารถบ่งบอกประสิทธิภาพการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การแปลผลระดับน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยเบาหวานทั่วไปและผู้ป่วยที่มีฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดอี ที่ระดับน้ำตาลเท่ากัน ผู้ป่วยที่มีฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดอีจะมีระดับน้ำตาลสะสมน้อยกว่าและมีงานวิจัยระบุว่าการที่ผู้ป่วยเบาหวานทราบผลระดับHbA1c ทันทีทำให้การควบคุมน้ำตาลดีขึ้น
    การวิจัยนี้เป็นการศึกษาปัญหาเฉพาะอย่างทางการแพทย์จุดประสงค์ของระบบนี้คือทำให้เสมือนมีมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและคำตอบเกี่ยวกับปัญหาการแปลผลการควบคุมระดับน้ำตาล
    วิธีการศึกษาใช้การคำนวณจากเลือดจากปลายนิ้ว ทั้งหมด 4 สูตร เปรียบเทียบกับค่าที่วัดได้จริง เป็นการศึกษาแบบครั้งเดียว เก็บข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานที่ติดตามการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเมือง ปี 2557-2559 จำนวนที่เจาะเลือด 10,267 ครั้ง โดยใช้สถิติ Pair t-test และ Multi-level regression analysis
     เพื่อทดสอบสูตรที่ใช้ในการคำนวณระดับ HbA1c สูตรต่างๆ เปรียบเทียบกับค่าที่วัดได้จริง เพื่อหาสูตรที่ดีที่สุด
     ผู้ป่วยเบาหวานที่ติดตามการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเมือง ปี 2557-2559 จำนวนที่เจาะเลือด 10,267 ครั้ง ผลการศึกษาพบว่า ค่าระดับน้ำตาลสะสมที่ได้จากการคำนวณไม่แตกต่างจากค่าที่วัดได้จริง ค่าเฉลี่ย 7.038 และ 7.046 (P=0.717) การเปลี่ยนแปลงของน้ำตาลสะสมจากการคำนวณ 1 หน่วย ทำให้ค่าที่วัดได้จริงเปลี่ยนแปลง 1.028 หน่วย แบบไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


    ในปัจจุบันมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยเบาหวานนั้น ต้องติดตามการการควบคุมระดับน้ำตาลด้วยระดับ HbA1c แต่ด้วยสถานะทางการเงินของหลายๆโรงพยาบาล และจำนวนผู้ป่วยที่มีปริมาณมาก ทำให้เป็นข้อจำกัดในการตรวจเลือดชนิดนี้ ผู้ป่วยต้องรอผลเลือดนานขึ้น ค่าใช้จ่ายมากขึ้น นอกจากนี้มีการศึกษาที่ระบุว่าการแจ้งผล HbA1c ทันที ทำให้ผู้ป่วยคุมน้ำตาลได้ดีขึ้น คงจะดีไม่น้อยหากมีสูตรที่ใช้ในการคำนวณได้ จากการทบทวนบทความในอดีตนั้นมีการคิดคำนวณกลับจาก HbA1c เป็นระดับน้ำตาลและมีการศึกษาความสัมพันธ์ของระดับ HbA1c ดับระดับน้ำตาลในเวลาต่างๆ ยังไม่มีการศึกษาความสัมพันธ์กับความเข้มข้นของเลือด หรือชนิดของเม็ดเลือดที่ผิดปกติ แต่เนื่องจากจังหวัดสุรินทร์มีผู้ป่วยเม็ดเลือดผิดปกติจำนวนมาก และผู้ป่วยเหล่านี้จะมีความเข้มข้นของเลือดผิดปกติด้วย ทำให้เราสามารถศึกษาความสัมพันธ์เหล่านี้ได้ แต่คงมิได้มาแทนมาตรฐานการรักษาแต่ประการใด มุ่งหวังว่าคงเป็นประโยชน์ในการคัดกรองเบื้องต้นในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล คลินิกเล็กๆ โรงพยาบาลชุมชนที่มีปัญหาทางการเงินบ้างไม่มากก็น้อย
สรุป ได้ว่าในหน่วยบริการขนาดเล็ก น่าจะใช้ค่าน้ำตาลสะสมจากการคำนวณในขั้นต้น เพื่อให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลตนเองได้